ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายป้ายโฆษณา

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายป้ายโฆษณา

ป้ายหรือสิ่งที่ก่อสร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้าย   ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้  ถือว่า เป็น อาคารตามกฎหมายควบคุมอาคาร

Administrator
20 มี.ค. 2566, 12:54
1343

ป้ายหรือสิ่งที่ก่อสร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้าย   ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้  ถือว่า เป็น อาคารตามกฎหมายควบคุมอาคาร ที่มา :  พรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 )
     (1) ที่ติดหรือตั้งป้ายไว้เหนือที่สาธารณะและมีขนาดเกินหนึ่งตารางเมตร  หรือ น้ำหนักรวมทั้งโครงสร้างเกินสิบกิโลกรัม หรือ
     (2) ที่ติดหรือตั้งห่างจากที่สาธารณะ ซึ่งเมื่อวัดในทางราบแล้วมีระยะห่างจากที่สาธารณะน้อยกว่าความสูงของป้ายนั้นเมื่อวัดจากพื้นดิน และต้องมีขนาดพื้นที่ หรือ น้ำหนัก  4  ลักษณะ คือ
            (2.1) ขนาดความกว้างของป้ายเกิน  50  เซนติเมตร หรือ
            (2.2) ยาวเกินหนึ่งเมตร หรือ
            (2.3) เนื้อที่ของป้ายเกิน  5,000  ตารางเซนติเมตร หรือ
            (2.4) มีน้ำหนักของป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดตั้งป้ายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกันเกินสิบกิโลกรัม

     กรณีที่ป้ายที่มีลักษณะดังกล่าวเป็นอาคาร การก่อสร้างป้ายโฆษณา จึงต้องขออนุญาต กับพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนดำเนินการก่อสร้าง ทั้งนี้ในการก่อสร้างป้ายหรือสิ่งที่ก่อสร้างเพื่อติดหรือตั้งป้าย ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
      (1) ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคารต้องไม่ล้ำออกนอกแนวผนังรอบนอกของอาคาร และส่วนบนสุดของป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งต้องสูงไม่เกิน  6  เมตร จากส่วนสูงสุดของอาคารหรือดาดฟ้าของอาคารที่ติดตั้งป้ายนั้น
      (2) ป้ายที่ติดตั้งอยู่บนพื้นดินโดยตรง ต้องมีความสูงไม่เกินระยะที่วัดจากจุดที่ติดตั้งป้ายไปจนถึงกึ่งกลางถนนสาธารณะที่อยู่ใกล้ป้ายนั้นมากที่สุด และมีความยาวของป้ายไม่เกิน  32   เมตร
      (3) ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่อาคารให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของอาคารและต้องไม่บังช่องระบายอากาศ หน้าต่าง ประตู หรือทางหนีไฟ
      (4) ป้ายที่ติดผนังอาคารที่อยู่ริมทางสาธารณะ ให้ยื่นได้โดยไม่ต้องล้ำที่สาธารณะส่วนต่ำสุดของป้ายต้องไม่น้อยกว่า 3.25 เมตร จากระดับทางเท้าและสูงไม่เกินความสูงของอาคาร
      (5) ป้ายที่ติดตั้งอยู่บนที่ดินโดยตรง ต้องมีความสูงไม่เกินระยะที่วัดจากจุดที่ติดตั้งป้ายไปจนถึงกึ่งกลางถนนสาธารณะ และสูงไม่เกิน  30  เมตร มีความยาวไม่เกิน  32 เมตรและต้องห่างจากที่ดินต่างเจ้าของไม่น้อยกว่า 4 เมตร ( ที่มา :  (1) - (2) กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543 ) , (3) – (5) ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร พ.ศ.2544  )

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการแสดงภาพลักษณ์เพื่อประกอบการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์เครื่องดื่มแอลกฮอล์

     ข้อ (1)    “ภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกฮอล์” หมายความว่า ภาพเครื่องหมายการค้าของเครื่องดื่มแอลกฮอล์ที่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า

                “ภาพสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกฮอล์” หมายความว่า ภาพสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกฮอล์ที่จดทะเบียนบริษัทตามกฎหมาย และไม่ซ้ำหรือทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกฮอล์

      ข้อ (2)    การแสดงภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกฮอล์หรือภาพสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกฮอล์ โดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกฮอล์ ต้องใช้ร่วมกับการให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้เชิงสังคม และต้องไม่มีลักษณะเป็นการอวดอ้างสรรพคุณ คุณประโยชน์ คุณภาพของเครื่องดื่มแอลกฮอล์ หรือชักจูงใจให้บริโภคเครื่องดื่มแอลกฮอล์ ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม
                    การให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้เชิงสร้างสรรค์ตามวรรคหนึ่ง ต้องสื่อความหมายโดยการนำเสนอข้อมูลหรือข้อเท็จจริงใด ๆ ที่เป็นความรู้อย่างชัดเจนในลักษณะส่งเสริมคุณธรรม วัฒนธรรม หรือเป็นวิทยาการความรู้ที่สร้างค่านิยมที่ดีของสังคม โดยไม่มีการปรากฎภาพของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกฮอล์

      ข้อ (3)    ภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกฮอล์หรือภาพสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกฮอล์ ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
               (3.1)       ไม่เป็นภาพเครื่องดื่มแอลกฮอล์หรือบรรจุภัณฑ์ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของเครื่องดื่ม แอลกฮอล์หรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกฮอล์
               (3.2)       ไม่มีข้อความเป็นการอวดอ้างสรรพคุณ คุณประโยชน์ คุณภาพของเครื่องดื่มแอลกฮอล์
               (3.3)       ไม่เป็นการชักจูงให้มีการบริโภคเครื่องดื่มแอลกฮอล์ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
               (3.4)       ไม่แสดงให้ปรากฎในรูปแบบ ลักษณะ หรือภาพใด ๆ ที่สามารถสื่อให้เห็นหรือทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นภาพของเครื่องดื่มแอลกฮอล์หรือภาพบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกฮอล์

       ข้อ (4)    การแสดงภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกฮอล์ หรือภาพสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกฮอล์ตามข้อ (2) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์สำหรับสื่อแต่ละประเภท ดังต่อไปนี้
               (4.1)       กรณีใช้สื่อทางกิจการโทรทัศน์ การฉายภาพ ภาพยนต์ วีดีทัศน์ การแสดงภาพโดยผ่านเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิคส์ หรือสื่ออื่นใดในทำนองเดียวกัน  ภาพสัญลักษณ์ต้องมีขนาดไม่เกินร้อยละห้าของพื้นที่โฆษณาทั้งหมดและใช้เวลาแสดงภาพสัญลักษณ์ไม่เกินร้อยละห้าของเวลาโฆษณาทั้งหมดแต่ต้องไม่เกินสองวินาที  โดยให้โฆษณาได้ตั้งแต่เวลา 22.00 น.ถึง 05.00 น. และให้แสดงภาพสัญลักษณ์ดังกล่าวเฉพาะในตอนท้ายของการโฆษณาเท่านั้น
               (4.2)       กรณีสื่อสิ่งพิมพ์  ภาพสัญลักษณ์มีขนาดไม่เกินร้อยละห้าของพื้นที่โฆษณาทั้งหมด โดยห้ามแสดงที่ปกหน้า ปกหลัง คู่หน้ากลาง หรือที่สิ่งห่อหุ้มสื่อสิ่งพิมพ์ดังกล่าว
               (4.3)       กรณีสื่ออื่นใดนอกจาก (4.1) และ (4.2) ภาพสัญลักษณ์ต้องมีขนาดไม่เกินร้อยละสามของพื้นที่โฆษณาในสื่อนั้น

                ทั้งนี้ ให้มีการแสดงข้อความคำเตือนทุกครั้งและตลอดเวลาขณะที่มีการแสดงภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกฮอล์หรือภาพสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกฮอล์ โดยรูปแบบของข้อความคำเตือนนั้นให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการควบคุมประกาศกำหนด
( ที่มา  :  กฎกระทรวงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการแสดงภาพลักษณ์ เพื่อประกอบการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์เครื่องดื่มแอลกฮอล์ พ.ศ. 553 )

 

ประกาศว่าด้วยรูปแบบและวิธีการแสดงข้อความคำเตือนประกอบภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกฮอล์ หรือภาพสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกฮอล์

     ข้อ (1)    กรณีสื่ออื่นใดนอกจากสื่อทางกิจการโทรทัศน์ การฉายภาพ ภาพยนต์ วีดีทัศน์ การแสดงภาพโดยผ่านเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิคส์ และ สื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งหมายถึงสื่อกลางแจ้งและสื่อป้ายโฆษณาให้แสดงข้อความคำเตือน แบบข้อความอักษรตามแนวนอนอยู่ด้านบนของพื้นที่โฆษณาด้วยอักษรไทย “อังสะนา นิว” ( Angsana New ) แบบหนา หรือตัวอักษรอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เป็นอักษรสีขาวพื้นดำเข้ม โดยมีขนาดความสูงของตัวอักษรไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของกรอบข้อความคำเตือน ซึ่งสามารถอ่านได้ง่ายและมองเห็นได้อย่างชัดเจน และพื้นที่ข้อความคำเตือนมีขนาดไม่น้อยกว่า  1 ใน 4  ของพื้นที่โฆษณา

     ข้อ (2)    การแสดงข้อความคำเตือน ให้แสดงอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
              (2.1)  “สุรา เป็นเหตุก่อมะเร็งได้”
              (2.2) “สุรา เป็นเหตุให้เซ็กส์เสื่อมได้”
              (2.3)  “สุรา เป็นเหตุให้พิการและเสียชีวิตได้”
              (2.4)  “สุรา เป็นเหตุทะเลาะวิวาทและอาชญากรรมได้”
              (2.5)  “สุรา ทำร้ายครอบครัว ทำลายสังคมได้”

     ข้อ (3)    การแสดงข้อความคำเดือนตามข้อ(2) หากเป็นข้อความคำเตือนของเครื่องดื่มแอลกฮอล์ประเภทเบียร์ หรือไวน์ ให้เปลี่ยนคำว่า “สุรา” เป็น “เบียร์” หรือ “ไวน์” แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ กรณีเป็นเครื่องดื่มแอลกฮอล์ประเภทอื่น หรือเครื่องดื่มแอลกฮอล์ผสมสำเร็จรูปให้ใช้คำว่า “สุรา”

                กรณีการแสดงภาพสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกฮอล์ให้ใช้คำที่แสดงถึงผลิตภัณฑ์ที่เป็นเครื่องดื่มแอลกฮอล์ประเภทใดประเภทหนึ่งของบริษัทดังกล่าว

( ที่มา : ประกาศคณะกรรมการการควบคุมเครื่องดื่มแอลกฮอล์ ว่าด้วยรูปแบบและวิธีการแสดงข้อความคำเตือนประกอบภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกฮอล์ หรือภาพสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกฮอล์ พ.ศ. 2553 )

ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลงอาคารประเภทป้ายหรือสิ่งที่สร้างสำหรับติดหรือตั้งป้าย ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2549

                (1)  ภายในระยะ 50 เมตร จากแนวเขตทางพิเศษ เขตทางรถไฟ      เขตแม่น้ำเจ้าพระยาและเขตทางถนนสายหลักที่กำหนด
                (2) ภายในระยะ 200 เมตร จากศูนย์กลางอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและอนุสาวสรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ

 

ข้อยกเว้นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
ข้อ (4) ภายใน 5 บริเวณดังกล่าว ห้ามบุคคลใดก่อสร้างอาคารประเภทป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายทุกชนิด เว้นแต่ป้าย ดังต่อไปนี้

                (1) ป้ายชื่อถนน ตรอก ซอย ป้ายของทางราชการที่ใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ป้ายตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง
                (2) ป้ายเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ของสถานประกอบการ ( logo ) และป้ายบอกชื่อสถานที่ เช่น ป้ายชื่ออาคาร ป้ายชื่อสถานประกอบการ ป้ายชื่อหมู่บ้าน โดยมีพื้นที่รวมกัน ไม่เกิน 5 ตารางเมตร มีความสูงไม่เกิน12 เมตร แต่มิใช่ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคาร

 

การเช่าซื้อและลิสซิ่งการเช่าซื้อ(Hire Purchase) คือ สัญญาที่เจ้าของทรัพย์สินเอาทรัพย์สินให้เช่า โดยมีข้อตกลงว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของผู้เช่า เมื่อผู้เช่าได้จ่ายเงินให้เจ้าของทรัพย์สินตามจำนวนงวดตามที่ตกลงกันไว้

ตัวอย่างเช่น เจ้าของรถยนต์ตกลงให้นาย ง.เช่าซื้อรถยนต์ โดยจะต้องจ่ายค่างวดให้ทุกเดือนตามที่ตกลงไว้จำนวนกี่เดือน เมื่อชำระเงินครบตามที่กำหนดไว้ ก็ตกลงจะไปโอนรถยนต์นั้นให้นาย ง.ต่อไป  

ลิสซิ่ง (Leasing) ลิสซิ่งคือสัญญาที่เจ้าของทรัพย์สินรถยนต์ (LESSOR)ให้บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง (LESSEE) ใช้ประโยชน์จากรถยนต์นั้นได้ โดยมีเงื่อนไขและข้อจำกัดตามที่ระบุในสัญญา และต้องชำระราคาตามที่กำหนดไว้

สัญญาลิสซิ่ง ผู้เช่ามีสิทธิครอบครองทรัพย์สินและใช้ประโยชน์จากทรัพย์สิน โดยจ่ายค่าตอบแทนเป็นรายเดือน จะเลิกสัญญาก่อนก็ได้แต่เสียค่าปรับ เมื่อสิ้นสุดสัญญาผู้เช่าจะซื้อทรัพย์สินนั้นหรือไม่ก็ได้เป็นทางเลือกของผู้เช่า หากตกลงซื้อทรัพย์สินจะต้องจ่ายเงินเพิ่มอีกส่วนหนึ่ง